หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง
SMOHS 23
1) หลักการและเหตุผล
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย
และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564
ข้อ 89 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับลูกจ้างในการทำงานนั้น
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“ทำงานในที่สูง” หมายความว่า การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือจากพื้นอาคารตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป ซึ่งลูกจ้างอาจพลัดตกลงมาได้
“นั่งร้าน” หมายความว่า โครงสร้างชั่วคราวที่สูงจากพื้นดินหรือจากพื้นอาคาร หรือส่วนของสิ่งก่อสร้าง สำหรับเป็นที่รองรับลูกจ้าง วัสดุ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์
ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ข้อ 3 นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีมาตรฐาน เหมาะสมกับสภาพของการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลาย ของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ และลักษณะ ของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน เช่น เข็มขัดนิรภัย เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต หมวกนิรภัย รองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง หรือถุงมือ และดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์นั้น ในกรณีที่ให้ลูกจ้างใช้เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ประกอบ นายจ้างต้องจัดทำจุดยึดตรึงเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตไว้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร หรือโครงสร้างอื่นใด ที่มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งาน
ข้อ 8 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือ ดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้ำง โดยต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย
ข้อ 9 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดทำ ราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงำน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการใช้เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ตลอดระยะเวลา การทำงาน
2) วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างและเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานที่สูง
2.2 เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายของการปฏิบัติงานที่สูงและความสำคัญของอุปกรณ์กันตก รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่สูงและสามารถปฏิบัติงานที่สูงได้อย่างปลอดภัย
2.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ปฏิบัติงานบนที่สูง เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุและป้องกันความสูญเสียอันอาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจหลักการปฏิบัติงานบนที่สูง สามารถประเมินความเสี่ยงและกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันการตก สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกได้อย่างเหมาะสม มีความตระหนักในการป้องกันอันตรายสำหรับการปฏิบัติงานที่สูง
4) กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ควบคุมงาน หัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่สูง
5) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ
ทีมงานวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรงกับหน้างาน
6) กำหนดการฝึกอบรม
เวลา | หัวข้ออบรม/รายละเอียดการบรรยาย |
08.45 – 09.00 น. | ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) |
09.00 – 12.00 น. | กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่สูง “กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการทำงานของลูกจ้าง” คำนิยาม/ความหมาย/คำจำกัดความเกี่ยวกับการทำงานในที่สูง หน้าที่และความรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติงานบนที่สูง การประเมินควบคุมสำหรับการปฏิบัติงานที่สูง ระบบการขัดขวางการตกและระบบการการขัดขวางการป้องกันวัสดุสิ่งของตกจากที่สูง ระบบการยับยั้งการตก จุดยึดเกี่ยว ส่วนพยุงร่างกาย หลักการและวิธีปฏิบัติงานบนที่สูง – อุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง – แนวทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง – การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานบนที่สูง – มาตรการการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง – ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำงานบนที่สูง – อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกันการตกจากที่สูง |
12.00 -13.00 น. | พักกลางวัน |
13.00 – 16.00 น. | – ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานบนที่สูง – ฝึกปฏิบัติการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harness) – ฝึกปฏิบัติการปีนขึ้นที่สูง ( วิเคราะห์ JSA เพื่อประเมินความเสี่ยงสำหรับการปฏิบัติงานในที่สูงและจัดทำแผนความปลอดภัย แผนฉุกเฉิน ตามข้อกำหนดกฎหมาย) |
16.00 -16.30 น . | แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) มอบใบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรม |
หมายเหตุ *** พัก/Break ช่วงเช้า 10.30 -10.45 น. ช่วงบ่าย 14.30 -14.45 น. (ตามที่สถานประกอบกิจการกำหนด)
ราคา In house Training ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท