ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

หลักสูตร: ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ

ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

SMOHS 20

1. หลักการและเหตุผล โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการรอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น 2.2 เพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 3.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 4.  กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 5. กำหนดการและหัวข้ออบรม          ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น  ระยะเวลา 24  ชั่วโมง  ( ทฤษฎี 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ  9 ชั่วโมง )      

วันแรกของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 – 17.00 น. 

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552                         
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย                                    
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น                                                         
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก                                                                                                
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น                                                         
  • ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น
  • ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
  • ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น

วันที่สองของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 -17.00 น.               

  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น                                                                          
  • ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
  • การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
  • การอ่านค่าตารางพิกัดยก
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
  • วิธีผูกมัด และการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา                                                     

วันที่สามของการฝึกอบรม ภาคปฏิบัติ  08.00 -18.00 น.   

  • การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                      
  • การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                     
  • การทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก