หลักสูตรที่อับอากาศ 4 ผู้

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท

ข้อหารือแรงงาน CLICK

การอบรมการทำงานในที่อับอากาศโดยนายจ้าง สามารถทำงานที่บริษัทอื่นได้

ใบสมัครอบรม

รายละเอียดวิชา

เปิดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะ

หลักสูตร: บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย SMOHS 19

บริษัทเซฟตี้มาสเตอร์ จำกัด เปิดอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย
เน้นเจาะลึกแนวข้อสอบ เพื่อสอบเป็นบุคลากรเฉพาะ ตามหลักสูตร ความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 

ตารางอบรมบุคลากรเฉพาะ

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )

  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

อัตราค่าลงทะเบียน 1,926 บาท/คน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

หมายเหตุ ค่าลงทะเบียนรวมค่าวิทยากร/เอกสารอบรม/วุฒิบัตร/ค่าอาหารกลางวัน /อาหารว่างเช้า-บ่าย

การทำงานในที่อับอากาศ

             อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ   ส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิต  คือ  1.การขาดอากาศหายใจ 2. การระเบิด 3. การสูดสารพิษ  ดังนั้นลูกจ้างที่เข้าทำงานในที่อับอากาศ  ควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการทำงานในที่อับอากาศ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

             ที่อับอากาศ หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย   เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ซึ่งอันตรายในที่อับอากาศ    คือ บรรยากาศอันตราย  เรามาดูความหมายของบรรยากาศอันตราย ตามนิยามของกฏหมายครับ 

บรรยากาศอันตราย หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

2. มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากันหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีของแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

หลักการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

1.ตระหนัก  และประเมินถึงอันตรายในที่อับอากาศ  ซึ่งในที่นี่้ คือ บรรยากาศอันตราย รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจทำให้ลูกจ้างเสียชีวิตได้

2. ควบคุมอันตราย  ดังนี้

  • การติดป้าย สถานที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า  รวมถึงป้ายห้าม  ป้ายเตือน ต่างๆ
  • ใบอนุญาตทำงาน (work permit)
  • การระบายอากาศ
  • การตรวจวัดอากาศ
  • การเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตขณะทำงาน  เช่น  รอก  เชือก  ไตรพอด  SCBA
  • แผนฉุกเฉิน  ทีมกู้ภัย

หากท่านสนใจอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สามารถติดต่อได้ที่ อ.ชเยศ (อ.ป๊อบ) 086-757-4837 , 094-141-6966


หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท

ข้อหารือแรงงาน  

รู้หรือไม่การอบรมการทำงานในที่อับอากาศ (นายจ้างจัดเอง) สามารถใช้ทำงานที่อื่นได้ 

 Click การอบรมการทำงานในที่อับอากาศโดยนายจ้าง สามารถทำงานที่บริษัทอื่นได้

 

 

 

ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง

หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง

SMOHS 23

1) หลักการและเหตุผล

      กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551  หมวด 11 ว่าด้วย การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทะลายและการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ  กำหนดดังนี้

ข้อ 89 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับลูกจ้างในการทำงานนั้น

ข้อ 90 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกร หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

ข้อ 91 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสถานที่ที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุพังทับ เช่น การทำงานบนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสำหรับเทวัสดุ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

2) วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างและเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานที่สูง

2.2 เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายของการปฏิบัติงานที่สูงและความสำคัญของอุปกรณ์กันตก รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทีสูงและสามารถปฏิบัติงานที่สูงได้อย่างปลอดภัย

3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานที่สูง

4)  กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน พนักงานที่ปฎิบัติงานที่สูง

5) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ

      อ.ชเยศ  แก้วลิบ

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

6) กำหนดการฝึกอบรม   

เวลา หัวข้อบรรยาย/อบรม
08.00 – 08.30 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
08.30 -12.00 น. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551

-อุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

– แนวทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง

– การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานบนที่สูง

– มาตรการการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

– ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำงานบนที่สูง

– การป้องกันวัสดุตกจากที่สูง

– อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกันการตกจากที่สูง

12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 -16.00 น. – ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานบนที่สูง

– ฝึกปฏิบัติการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harness)

– ฝึกปฏิบัติการปีนขึ้นที่สูง

16.00 -16.30 น. แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

ราคา In house Training    ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

                                                        

หมายเหตุ *** พัก/Break   ช่วงเช้าเวลา 10.30 -10.45 น.   ช่วงบ่าย 14.30-14.45 น.

พักกลางวัน  เวลา 12.00-12.00 น.

ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างใหม่

หลักสูตร : ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไป

 และลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย  พ.ศ. 2554

SMOHS 13

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานไดอย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาธุรกิจ  การพัฒนาองค์กร  การพัฒนาการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อสู่ความมั่งคั่ง ความก้าวหน้า การเจริญเติบโตแบบมั่นคงและยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศและการขับเคลื่อน แบบประชารัฐ โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน” หรือที่เราเรียกว่าโมเดลประเทศไทย 4.0
การฝึกอบรมลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ให้มีความรู้ (Knowledge) มีความเข้าใจ(Understand) เกิดทักษะ (Skill) และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ(Attitude) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Behavior)ที่ซ่อนอยู่หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้แบบ Tacit Knowledge ให้เปลี่ยนเป็น ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ตนได้สัมผัส ได้รับรู้ ได้พบ ได้เห็น หรือได้รับมอบหมายงานจากหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา   ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  ปัจจุบันส่วนหนึ่งผู้บริหารหรือหัวหน้างานพบว่า ลูกจ้างหรือพนักงานไม่เข้าใจคำสั่ง หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงในกระบวนการทำงานจึงก่อให้เกิดความบกพร่องทางด้านกระบวนการคิด และส่งผลกระทบนานัปการกับองค์กร เช่น เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต  ผลผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า เกิดความล่าช้าในการทำงาน ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ทันตามเวลา พนักงานเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน หรือเกิดการรอคอยทำให้สูญเสียเวลา เสียโอกาส  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรทั้งลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป เพื่อให้เกิด KUSA  ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) เพิ่ม/ เติมเต็มศักยภาพในการทำงานตาม บทบาทหน้าที่  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับลูกจ้าง     บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด   สามารถที่จะให้คำแนะนำเรื่องดังกล่าวกับสถานประกอบกิจการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติ

วัตถุประสงค์รายวิชา

  1. สร้างความตระหนักให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เห็นถึงความสำคัญกับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเพื่อลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับ คน เครื่องจักร ทรัพย์สินต่างๆ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้และเข้าใจกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย สามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำองค์ความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางปฏิบัติ

แนวทางการฝึกอบรม

1.กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

ลูกจ้างใหม่ ลูกจ้างทั่วไป ผู้ควบคุมงานหรือผู้ที่สนใจ

ระยะเวลาในการฝึกอบรม  1  วัน (6 ชั่วโมง)

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.30 น. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
10.35-10.45 น. พัก
10.45-12.00 น. กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-14.30 น. (ต่อ) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในกาiทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการ
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.00 น. ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
16.00-16.15 น. ทำแบบทดสอบ Post Test
16.15-16.00 น. กิจกรรมถาม -ตอบ

เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

หลักสูตร: เทคนิคการขับรถยก (FORK LIFT) อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

SMOHS 5

                พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

                ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเปลี่ยนแปลงหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนเริ่มก่อนทำงาน

                การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์   วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

                กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ. 2552 ข้อ 36 พนักงานขับรถยกต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่อธิบดีกำหนด

หลักการและเหตุผล

               ในยุคที่มีการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพ (Quality) ต้นทุน/ราคา (Cost & Price) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ Delivery on Time) รถยกหรือรถโฟล์คลิฟท์ นับว่าเป็นเครื่องจักรกลที่มีบทบาทมาก สถานประกอบกิจการได้นำเข้ามาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของกันมากขึ้นในภาคอุตสาหกรรม  เพื่อลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดการบาดเจ็บจากการเกิดประสบอันตรายจากการทำงาน สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรหรือผู้ที่รับผิดชอบในการขับขี่รถยก(Fork Lift) ให้เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัย( Safety Awareness) ดังนั้นก่อนที่ผู้ควบคุมงานจะมอบหมายหน้าที่ให้ใครคนใดคนหนึ่งทำงานกับเครื่องจักร หัวหน้างานหรือผู้เกี่ยวข้องต้องฝึกอบรมให้พนักงานหรือลูกจ้างมีความรู้ มีความเข้าใจ และมีทักษะจนเป็นที่มั่นใจว่าเขาจะทำงานด้วยความปลอดภัย 

วัตถุประสงค์หลักสูตร

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ วิธีการขับขี่รถยก อย่างถูกวิธีและปลอดภัย
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ทราบถึงเทคนิค วิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษารถยกเบื้องต้นก่อนการใช้งาน
  3. เพื่อเพิ่มทักษะในการขับขี่และเสริมสร้างประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน
  4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย สู่เส้นทางการทำงานแบบมืออาชีพ                                                          
  5. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 วัตถุประสงค์รายวิชา

    1. นายจ้างหรือผู้ควบคุมงานสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น หม้อน้ำ พ.ศ.2552
    1. ผู้เข้าอบรมเข้าใจโครงสร้าง ส่วนประกอบของรถยก ปุ่มควบคุมต่างๆ และรู้จักวิธีการตรวจสอบ การบำรุงรักษาก่อนการใช้รถยกประจำวัน
    1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถยกและสามารถบอกวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ SMOHS 5
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายประเภทของรถยก ความหมายของโค๊ดรถยก สามารถคิดคำนวณน้ำหนัก  รู้วิธีและเข้าใจวิธีขับรถยกให้ปลอดภัย    

แนวทางการฝึกอบรม     

  1. กิจกรรมการบรรยาย  ซัก/ถาม-ตอบปัญหา
  2. ภาคปฏิบัติ  สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษาเบื้องต้นและการทดสอบทักษะการขับขี่รายบุคคล

 การประเมินผลหลักสูตร

1.แบบทดสอบ Pre-Testและ Post Test

2. ทดสอบภาคปฏิบัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

1.ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยก เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยรถยก (Fork Lift)หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

2.ต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานในการขับขี่รถยก (Fork Lift) หรือเคยขับขี่รถยกมาก่อน

3. กรณีที่ไม่เคยขับรถยกมาก่อนต้องมีพื้นฐานการขับรถยนต์หรือมีใบขับขี่รถยนต์

 ระยะเวลาในการฝึกอบรม      1  วัน (6 ชั่วโมง) 

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
เวลา หัวข้อการฝึกอบรม
08.30-08.50 น. ลงทะเบียนและทดสอบ Pre-Test
08.50-10.15 น. กิจกรรมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถยกและข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยก แนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถยก  องค์ประกอบของรถยก  การตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา
10.15-12.00 น. วีดีทัศน์ การขับขี่รถยก  ประเภทของรถยก โค๊ด/ความหมายเกี่ยวกับรถยก วิธีคิดคำนวณน้ำหนัก Load center  จาก Name Plate  วิธีปฏิบัติการขับรถยกอย่างวิธีที่ปลอดภัย ทดสอบ Pre-Test
12.00-13.00 น. พักกลางวัน
13.00-16.30 น.

 

สาธิตการตรวจสอบรถยกเพื่อการบำรุงรักษา  ทดสอบภาคปฏิบัติ

สรุปผลการฝึกอบรม/ข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัย

                                                     

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

หลักสูตร: ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ

ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

SMOHS 20

1. หลักการและเหตุผล โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการรอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น 2.2 เพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 3.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 4.  กลุ่มเป้าหมาย หัวหน้างาน  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น 5. กำหนดการและหัวข้ออบรม          ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น  ระยะเวลา 24  ชั่วโมง  ( ทฤษฎี 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ  9 ชั่วโมง )      

วันแรกของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 – 17.00 น. 

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552                         
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย                                    
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น                                                         
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก                                                                                                
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น                                                         
  • ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น
  • ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น
  • ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น

วันที่สองของการฝึกอบรม ภาคทฤษฎี  08.00 -17.00 น.               

  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น                                                                          
  • ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
  • การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
  • การอ่านค่าตารางพิกัดยก
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
  • วิธีผูกมัด และการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา                                                     

วันที่สามของการฝึกอบรม ภาคปฏิบัติ  08.00 -18.00 น.   

  • การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                      
  • การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                     
  • การทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก   

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

หลักสูตร: ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

SMOHS 21

1. หลักการและเหตุผล

โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อให้สถานประกอบกิจการได้จัดให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้เข้ารับการรอบรมตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

2.2 เพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552

3.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

4.  กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน  พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

5. กำหนดการและหัวข้ออบรม     

ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่นระยะเวลา 18 ชั่วโมง(ทฤษฎี 9 ชั่วโมง  ปฏิบัติ  9 ชั่วโมง )


  •  

วันแรกของการฝึกอบรม

ภาคทฤษฎี  08.00-18.00 น.              

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552                         
  • มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย                                    
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น                                                         
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก                                                                                                
  • บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น                                                         
  • ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น                              
  • ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น                                                                          
  • ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
  • การใช้สัญญาณมือ
  • วิธีผูกมัด และการยกเคลื่อนย้าย
  • การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
  • การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
  • การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก                                                                                                     

วันที่สองของการฝึกอบรม

ภาคปฏิบัติ 08.00-18.00 น.    

  • การทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                      
  • การทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย                                                     
  • การทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่าง วัสดุสิ่งของที่จะยก