Lockout Tagout

หลักสูตร : การป้องกันและลดความสูญเสียด้วยระบบ Lockout Tagout

SMOHS 11

1) หลักการและเหตุผล

จากสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานของสำนักงานประสังคม พบว่าสาเหตุการประสบอันตรายจากการปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอุปกรณ์แหล่งจ่ายพลังงานต่างๆก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือถึงขั้นสูญเสียอวัยวะเป็นสถิติการประสบอันตรายอันดับต้นๆติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี เพื่อเป็นการป้องกันและลดความสูญเสียดังกล่าวผู้ควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจหลักการควบคุมและป้องกันอันตรายในขณะซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 (ข้อ 4.) (ข้อ 57.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2554 (ข้อ 16.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 หมวด 3 งานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัยส่วนที่ 1 งานไฟฟ้า(ข้อ 23.) (ข้อ 57.)

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานในที่อับอากาศ  พ.ศ. 2547 (ข้อ 11.)

มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง OSHA  HSE EU-OSHA

2) วัตถุประสงค์

2.1  เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและตามข้อกำหนด มาตรฐานด้านความปลอดภัย

2.2  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ถึงอันตรายอันเกิดจากพลังงานต่างๆในขณะทำการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์

2.3 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจหลักการควบคุมและป้องกันอันตรายในขณะซ่อมบำรุงเครื่องจักร

2.4 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้อุปกรณ์ ระบบ Lock  Out  Tag out ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ควบคุมงาน พนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิต งานก่อสร้าง งานปรับแต่งเครื่องจักร งานตรวจสอบ งานดัดแปลง งานทำความสะอาดและผู้ที่สนใจทั่วไป

4) วิธีการฝึกอบรม

กิจกรรมการบรรยาย กิจกรรมกลุ่ม สาธิตและการฝึกปฏิบัติ การซักถาม ตอบปัญหา กรณีศึกษา การอภิปราย

5) ระยะเวลาอบรม 1วัน (6ชั่วโมง)

6) วิธีการวัดและประเมินผล

แบบทดสอบ Pre-Test  Post –Test  ระหว่างการฝึกอบรม และสังเกตจากการเข้าร่วมปฏิบัติ

7) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์ตัดแยกพลังงานโดยใช้ระบบ Lock Out และ Tag Out

8) อัตราค่าลงทะเบียน In House Training  

ราคาเริ่มต้น   15,000 บาท

9) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ

 อ.ชเยศ แก้วลิบ

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

10) กำหนดการฝึกอบรม   

เวลา หัวข้อบรรยาย
08.00 – 08.30 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
08.30 – 10.30 น. กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง,ความสำคัญของระบบ Lock Out  Tag Out

พลังงานที่ก่อให้เกิดอันตราย,งานที่ต้องการใช้ระบบ Lock Out Tag Out

10.45 – 12.00 น. ขั้นตอนการควบคุมพลังงาน

ตัวอย่างอุปกรณ์ตัดจ่ายพลังงาน องค์ประกอบที่สำคัญของระบบ     LOTO

กุญแจล็อก

การใช้อุปกรณ์ระบบ Lock Out Tag Out

ขั้นตอนการปลดอุปกรณ์ , ขั้นตอนทำงานร่วมกับผู้รับเหมา,  ขั้นตอนการเปลี่ยนกะ

12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.30 น.

ประเภทของอุปกรณ์ระบบ LOTO

กุญแจล็อก,Lock Out Hasps  ชุดล็อกและป้าย ชุดล็อกเบรกเกอร์ ชุดล็อกปุ่มกด ชุดล็อกปลั๊กไฟฟ้า

ถุงล็อกชุดควบคุมรอกไฟฟ้า  ชุดล็อกอเนกประสงค์แบบสายเคเบิ้ล ชุดล็อกเกตวาล์ว

ชุดล็อกหัวต่อระบบนิวเมติก

อุปกรณ์ช่วยล็อกแบบอื่นๆ ตัวอย่างรูปแบบป้าย

14.45 – 16.30 น. สรุปขั้นตอนทำ LOTO

สรุปขั้นตอนล็อกและการปิดป้าย

สรุปขั้นตอนการปลดล็อก

กิจกรรมกลุ่ม

แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

หมายเหตุ *** พัก/Break   ช่วงเช้าเวลา 10.30 -10.45 น.   ช่วงบ่าย 14.30-14.45 น.

พักกลางวัน  เวลา 12.00-12.00 น.

37,500 บาท ความปลอดภัยในการทำงานที่อับอากาศ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงาน

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

 

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท

ข้อหารือแรงงาน  

รู้หรือไม่การฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศ (นายจ้างจัดเอง) สามารถใช้ทำงานที่อื่นได้ 

อบรมความปลอดภัยในการทำงานสารเคมี

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย 

SMOHS 14

1. หลักการและเหตุผล

ในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงและการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมได้นำสารเคมีหลายชนิดเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งสารเคมีแต่ละชนิดมีโอกาสที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติ  สถานะและประเภทของสารเคมีนั้นๆ อาทิเช่นบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน บางชนิดเป็นสารไวไฟก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือเกิดการระเบิด เป็นต้น  ดังนั้นสถานประกอบกิจการจำเป็นต้องมีระบบการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล  เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคอันเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานกับสารเคมี  การบริหารการจัดการสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย (Safety Mind or Safety Awareness) ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วถึงทั้งองค์กรโดยการฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ

           กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี นอกจากจะเป็นการพัฒนาส่งเสริมขีดความสามารถให้กับพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ มีความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ความสูญเสียต่อกระบวนการ ทรัพย์สินขององค์กร หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เสริมสร้างทักษะสามารถกำหนดวิธีการป้องกันและควบคุมอันตราย อีกทั้งกำหนดขั้นตอนในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานด้วย และที่สำคัญ  การฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี เป็นการปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ประกาศกระทรวง ข้อกำหนดของกฎหมายความปลอดภัยและหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ หลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ ข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายและสามารถนำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย

2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจข้อมูลเคมีภัณฑ์(MSDS/SDS/PDS)ของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ รู้หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี  การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การใช้เครื่องดับเพลิงและการปฐมพยาบาลให้ความช่วยเหลือผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีอันตรายอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

2.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจความหมายของป้ายเตือนหรือป้ายสัญลักษณ์ ฉลากสารเคมีและสามารถเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

2.5 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจถึงการเตรียมพร้อมและวิธีการโต้ตอบภาวะฉุกเฉินขั้นต้น

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

3.1 ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้อันตรายและเกิดความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากการทำงานกับสารเคมี

3.2 สถานประกอบกิจการสามารถนำข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติให้สอดคล้องและถูกต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competition)

3.3 ลดการสูญเสีย(Lose) ลดต้นทุน (Cost) ในการบริหารทรัพยากรต่างๆในกระบวนการผลิตและเป็นการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร  (Productivity)

3.4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบกิจการเป็นการเพิ่มคุณค่าภายในให้กับองค์กร(Value add)

4. กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน หรือผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี พนักงานทั่วไปที่สนใจ

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

กำหนดการ หัวข้ออบรม
เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
เวลา 09.00 – 10.30  น. กรณีตัวอย่างอุบัติเหตุจากสารเคมี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมี

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

เวลา 10.45 – 12.00  น. การใช้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี(MSDS)

ป้ายเตือน,ป้ายสัญลักษณ์และฉลากสารเคมี

เวลา 13.00 – 14.30  น. หลักการป้องกันอันตรายจากสารเคมี

ข้อกำหนดและวิธีการจัดเก็บสารเคมี

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสสารเคมี

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้กับสารเคมี

เวลา 14.45 – 16.30  น. การเตรียมความพร้อมในกรณีสารเคมีรั่วไหล

ถาม – ตอบ

แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

 *** หมายเหตุ  พักรับประทานอาหารว่าง ช่วงเช้า    เวลา  10.30 – 10.45 น. เบรกเช้า                  

                        พักรับประทานอาหารว่าง ช่วงบ่าย    เวลา 14.30 – 14.45 น. เบรกบ่าย

บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย

หลักสูตร: บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย

SMOHS 19

         ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบพ.ศ.2551 ได้กำหนดให้บุคลากรเฉพาะคือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยใน เรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตราย จะต้องสอบผ่านการทดสอบวัดความรู้หลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุ อันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด

ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

ได้แก่ผู้ประกอบการที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1.ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป

2.ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป

3.ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการวัตถุอันตราย

1.ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบุคลากรเฉพาะนั้นต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการวัตถุอันตรายแห่งอื่น

2.ต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรเฉพาะแทนภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบว่าบุคลากรเฉพาะถูกยกเลิกหนังสือรับรองการจดทะเบียน เสียชีวิต ลาออก หรือทุพพลภาพ แล้วแต่กรณี

3.ต้องดำเนินการให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

4.ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายทุก 1 ปี

คุณสมบัติของบุคลากรเฉพาะ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่หลักสูตรกำหนดให้เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมีประสบการณ์หน้าที่ประจำ

2.โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยได้คะแนนในการทดสอบ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำ

3.สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อ จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ผ่านการทดสอบวัดความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรม

หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเฉพาะ

1.ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงาน เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.จัดทำแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปีเก็บไว้

3.จัดทำและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย

4.ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมกรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

          หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ก่อนเข้ารับการทดสอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการ วัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
  • ราคาเริ่มต้น  17,000 บาท