อบรมความปลอดภัยในการทำงานสารเคมี

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย 

SMOHS 14

1. หลักการและเหตุผล

ในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงและการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมได้นำสารเคมีหลายชนิดเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งสารเคมีแต่ละชนิดมีโอกาสที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติ  สถานะและประเภทของสารเคมีนั้นๆ อาทิเช่นบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน บางชนิดเป็นสารไวไฟก่อให้เกิดเพลิงไหม้หรือเกิดการระเบิด เป็นต้น  ดังนั้นสถานประกอบกิจการจำเป็นต้องมีระบบการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล  เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บหรือเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคอันเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานกับสารเคมี  การบริหารการจัดการสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย (Safety Mind or Safety Awareness) ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วถึงทั้งองค์กรโดยการฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ

           กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี นอกจากจะเป็นการพัฒนาส่งเสริมขีดความสามารถให้กับพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ มีความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ความสูญเสียต่อกระบวนการ ทรัพย์สินขององค์กร หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เสริมสร้างทักษะสามารถกำหนดวิธีการป้องกันและควบคุมอันตราย อีกทั้งกำหนดขั้นตอนในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานด้วย และที่สำคัญ  การฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี เป็นการปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ประกาศกระทรวง ข้อกำหนดของกฎหมายความปลอดภัยและหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีความเข้าใจ หลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ ข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายและสามารถนำมาปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย

2.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจข้อมูลเคมีภัณฑ์(MSDS/SDS/PDS)ของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ รู้หลักการป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี  การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย การใช้เครื่องดับเพลิงและการปฐมพยาบาลให้ความช่วยเหลือผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีอันตรายอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

2.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจความหมายของป้ายเตือนหรือป้ายสัญลักษณ์ ฉลากสารเคมีและสามารถเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

2.5 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้และเข้าใจถึงการเตรียมพร้อมและวิธีการโต้ตอบภาวะฉุกเฉินขั้นต้น

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

3.1 ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้อันตรายและเกิดความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากการทำงานกับสารเคมี

3.2 สถานประกอบกิจการสามารถนำข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติให้สอดคล้องและถูกต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competition)

3.3 ลดการสูญเสีย(Lose) ลดต้นทุน (Cost) ในการบริหารทรัพยากรต่างๆในกระบวนการผลิตและเป็นการเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร  (Productivity)

3.4 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบกิจการเป็นการเพิ่มคุณค่าภายในให้กับองค์กร(Value add)

4. กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน หรือผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี พนักงานทั่วไปที่สนใจ

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด

ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท

กำหนดการ หัวข้ออบรม
เวลา 08.30 – 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 – 09.00 น. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
เวลา 09.00 – 10.30  น. กรณีตัวอย่างอุบัติเหตุจากสารเคมี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมี

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

เวลา 10.45 – 12.00  น. การใช้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี(MSDS)

ป้ายเตือน,ป้ายสัญลักษณ์และฉลากสารเคมี

เวลา 13.00 – 14.30  น. หลักการป้องกันอันตรายจากสารเคมี

ข้อกำหนดและวิธีการจัดเก็บสารเคมี

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสสารเคมี

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้กับสารเคมี

เวลา 14.45 – 16.30  น. การเตรียมความพร้อมในกรณีสารเคมีรั่วไหล

ถาม – ตอบ

แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)

 *** หมายเหตุ  พักรับประทานอาหารว่าง ช่วงเช้า    เวลา  10.30 – 10.45 น. เบรกเช้า                  

                        พักรับประทานอาหารว่าง ช่วงบ่าย    เวลา 14.30 – 14.45 น. เบรกบ่าย

บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย

หลักสูตร: บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการจัดเก็บวัตถุอันตราย

SMOHS 19

         ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบพ.ศ.2551 ได้กำหนดให้บุคลากรเฉพาะคือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยใน เรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตราย จะต้องสอบผ่านการทดสอบวัดความรู้หลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุ อันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด

ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

ได้แก่ผู้ประกอบการที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

1.ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป

2.ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป

3.ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์

หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการวัตถุอันตราย

1.ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบุคลากรเฉพาะนั้นต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการวัตถุอันตรายแห่งอื่น

2.ต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรเฉพาะแทนภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบว่าบุคลากรเฉพาะถูกยกเลิกหนังสือรับรองการจดทะเบียน เสียชีวิต ลาออก หรือทุพพลภาพ แล้วแต่กรณี

3.ต้องดำเนินการให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

4.ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายทุก 1 ปี

คุณสมบัติของบุคลากรเฉพาะ

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่หลักสูตรกำหนดให้เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมีประสบการณ์หน้าที่ประจำ

2.โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยได้คะแนนในการทดสอบ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำ

3.สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อ จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ผ่านการทดสอบวัดความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรม

หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรเฉพาะ

1.ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงาน เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2.จัดทำแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปีเก็บไว้

3.จัดทำและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย

4.ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมกรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

          หลักสูตรนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ก่อนเข้ารับการทดสอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการ วัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551

วิทยากร อาจารย์ชเยศ    แก้วลิบ 

  • วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
  • กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
  • ราคาเริ่มต้น  17,000 บาท