หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานที่สูง
SMOHS 23
1) หลักการและเหตุผล
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 หมวด 11 ว่าด้วย การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทะลายและการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ กำหนดดังนี้
ข้อ 89 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับลูกจ้างในการทำงานนั้น
ข้อ 90 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานบนที่ลาดชันที่ทำ มุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงานสายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกร หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ข้อ 91 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสถานที่ที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุพังทับ เช่น การทำงานบนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสำหรับเทวัสดุ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้างหรือสิ่งของ และจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
2) วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างและเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานที่สูง
2.2 เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายของการปฏิบัติงานที่สูงและความสำคัญของอุปกรณ์กันตก รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทีสูงและสามารถปฏิบัติงานที่สูงได้อย่างปลอดภัย
3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานที่สูง
4) กลุ่มเป้าหมาย
หัวหน้างาน พนักงานที่ปฎิบัติงานที่สูง
5) วิทยากรผู้บรรยาย/ปฏิบัติ
อ.ชเยศ แก้วลิบ
- วิทยากรสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน ( ประเทศไทย )
- กรรมการบริหาร บริษัท เซฟตี้ มาสเตอร์ จำกัด
6) กำหนดการฝึกอบรม
เวลา | หัวข้อบรรยาย/อบรม |
08.00 – 08.30 น. | แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) |
08.30 -12.00 น. | กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2551
-อุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง – แนวทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานการทำงานบนที่สูง – การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานบนที่สูง – มาตรการการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง – ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำงานบนที่สูง – การป้องกันวัสดุตกจากที่สูง – อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการป้องกันการตกจากที่สูง |
12.00 -13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00 -16.00 น. | – ฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงานบนที่สูง
– ฝึกปฏิบัติการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัว (Full Body Harness) – ฝึกปฏิบัติการปีนขึ้นที่สูง |
16.00 -16.30 น. | แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) |
ราคา In house Training ราคาเริ่มต้น 15,000 บาท
หมายเหตุ *** พัก/Break ช่วงเช้าเวลา 10.30 -10.45 น. ช่วงบ่าย 14.30-14.45 น.
พักกลางวัน เวลา 12.00-12.00 น.