หลักสูตรที่อับอากาศ 4 ผู้

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สำหรับผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท

ข้อหารือแรงงาน CLICK

การอบรมการทำงานในที่อับอากาศโดยนายจ้าง สามารถทำงานที่บริษัทอื่นได้

ใบสมัครอบรม

รายละเอียดวิชา

การทำงานในที่อับอากาศ

             อุบัติเหตุจากการทำงานในที่อับอากาศ   ส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิต  คือ  1.การขาดอากาศหายใจ 2. การระเบิด 3. การสูดสารพิษ  ดังนั้นลูกจ้างที่เข้าทำงานในที่อับอากาศ  ควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการทำงานในที่อับอากาศ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

             ที่อับอากาศ หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย   เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

ซึ่งอันตรายในที่อับอากาศ    คือ บรรยากาศอันตราย  เรามาดูความหมายของบรรยากาศอันตราย ตามนิยามของกฏหมายครับ 

บรรยากาศอันตราย หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร

2. มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากันหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีของแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

หลักการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

1.ตระหนัก  และประเมินถึงอันตรายในที่อับอากาศ  ซึ่งในที่นี่้ คือ บรรยากาศอันตราย รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจทำให้ลูกจ้างเสียชีวิตได้

2. ควบคุมอันตราย  ดังนี้

  • การติดป้าย สถานที่อับอากาศ อันตรายห้ามเข้า  รวมถึงป้ายห้าม  ป้ายเตือน ต่างๆ
  • ใบอนุญาตทำงาน (work permit)
  • การระบายอากาศ
  • การตรวจวัดอากาศ
  • การเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตขณะทำงาน  เช่น  รอก  เชือก  ไตรพอด  SCBA
  • แผนฉุกเฉิน  ทีมกู้ภัย

หากท่านสนใจอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ สามารถติดต่อได้ที่ อ.ชเยศ (อ.ป๊อบ) 086-757-4837 , 094-141-6966


หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

SMOHS 22

1) หลักการและเหตุผล

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยละสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ

2) วัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งอาจจะทำให้ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับอันตรายจากสารพิษรวมถึงการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานในที่อับอากาศ

3) ขอบเขตการบังคับ

ใช้บังคับนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในสถานประกอบกิจการที่มีที่อับอากาศ

4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากการฝึกอบรมผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย

5)  กลุ่มเป้าหมาย

ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศและท่านที่สนใจสำหรับการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ

6) กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับ ผู้อนุญาต  ผู้ควบคุมงาน  ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงาน

จำนวน 4 วัน ระยะเวลา 24 ชั่วโมง  ( ทฤษฎี15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง ) ตามกฏหมายใหม่ 2564

15 ท่าน  37,500 บาท

30 ท่าน  47,500 บาท

ข้อหารือแรงงาน  

รู้หรือไม่การอบรมการทำงานในที่อับอากาศ (นายจ้างจัดเอง) สามารถใช้ทำงานที่อื่นได้ 

 Click การอบรมการทำงานในที่อับอากาศโดยนายจ้าง สามารถทำงานที่บริษัทอื่นได้